fbpx
การออกแบบระบบแสงสว่าง เรื่องสำคัญใกล้ตัวที่คุณควรรู้

การออกแบบระบบแสงสว่าง เรื่องสำคัญใกล้ตัวที่คุณควรรู้

เคยได้ยินหรือไม่ว่า… อย่าอ่านหนังสือในที่แสงน้อย เพราะจะทำให้สายตาเสีย 

เนื่องด้วยแสงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตที่จะช่วยมอบแสงสว่าง ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น ประโยชน์ของแสงสว่างไม่ได้มีเพียงเท่านี้ โทนของแสงยังสามารถสร้างบรรยากาศที่ดีในสถานที่ที่แตกต่างกันออกไปได้อีกด้วย ทั้งนี้ แสงที่ดีต้องไม่ใช่เพียงแสงที่ให้ความสว่างเท่านั้น แต่จะต้องทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสบายตาและสามารถมองเห็นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย ด้วยเหตุนี้ การออกแบบระบบแสงสว่าง (Lighting Design) จึงมีมาเพื่อออกแบบแสงสว่างในแต่ละพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

การออกแบบระบบแสงสว่างสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีคุณภาพสำหรับทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สำนักงาน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งพื้นที่กลางแจ้ง เช่น สวนสาธารณะหรือถนนในเมือง ระบบแสงสว่างที่ดีจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานหรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่นั้น ทั้งยังมีผลต่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การประหยัดค่าใช้จ่าย และการเพิ่มคุณค่าทางธุรกิจอีกด้วย ในบทความนี้ เราจึงอยากพามาสำรวจการออกแบบระบบแสงสว่างในเชิงลึกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความหมายหรือประเภทของการออกแบบระบบแสงสว่าง ตลอดจนมาตรฐาน ไปจนถึงวิธีการออกแบบระบบแสงสว่างในเบื้องต้น พร้อมแล้วไปสำรวจกันเลย

ความหมายและความสำคัญของการออกแบบระบบแสงสว่าง

การออกแบบระบบแสงสว่าง (Lighting Design) คือวิธีการคำนวณ วางแผน เพื่อหาค่าความส่องสว่างที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ซึ่งการออกแบบระบบแสงสว่างไม่ได้มีเพียงแค่การคำนวณความสว่างจากแหล่งกำเนิดแสงเท่านั้น แต่จะต้องคำนวณควบคู่ไปกับการคำนึงถึงผลของการสะท้อนของแสงไปยังพื้น ผนัง เพดาน โทนสีที่ใช้ก็ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานแสงสว่างในแต่ละพื้นที่ด้วย ทั้งยังมีรายละเอียดที่ต้องคำนึงและคำนวณให้รอบด้าน การออกแบบระบบแสงสว่างจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบระบบไฟฟ้าและจะมีการออกแบบเป็นลำดับแรกเสมอ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้การทำงานในที่แสงน้อยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างความปลอดภัย และสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ

 

ประเภทของการออกแบบระบบแสงสว่าง

การออกแบบระบบแสงสว่างแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การออกแบบระบบแสงสว่างภายในอาคาร และการออกแบบระบบแสงสว่างภายนอกอาคาร 

การออกแบบระบบแสงสว่างภายในอาคาร 

การออกแบบระบบแสงสว่างภายในอาคาร คือ การเน้นให้แสงสว่างที่เหมาะสมและปรับได้ในทุกพื้นที่ของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่อยู่อาศัย อาคารสํานักงาน อาคารพาณิชย์ หรืออาคารอุตสาหกรรม เพื่อให้มีแสงที่เพียงพอเหมาะสมสำหรับแต่ละห้อง และเพื่อให้การทำงานหรือการทำกิจกรรมในอาคารนั้นๆ สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การให้แสงสว่างสำหรับการทำงานในห้องประชุมหรือการให้แสงสว่างอันอบอุ่นในห้องพัก

การออกแบบระบบแสงสว่างภายนอกอาคาร 

การออกแบบระบบแสงสว่างภายนอกอาคาร คือ การให้แสงสว่างที่สอดคล้องและเป็นไปตามสภาพแวดล้อมภายนอก โดยจะเน้นไปที่การประดับประดาหรือการสร้างจุดเด่นแก่สถาปัตยกรรมของอาคาร เช่น การใช้แสงสว่างเพื่อเชิดชูลักษณะเด่นของการออกแบบอาคารในยามค่ำคืน หรือการใช้แสงสว่างเพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายให้แก่พื้นที่สวนหน้าบ้าน 

ระบบส่องสว่าง

การออกแบบระบบแสงสว่างที่ดีต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจในพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่จะส่งผลต่อแสงสว่างอย่างเป็นระบบ ซึ่งระบบส่องสว่างสามารถแบ่งออกได้ 2 ระบบ ดังนี้

ระบบการให้แสงสว่างหลัก (Primary Lighting System)

ระบบการให้แสงสว่างหลักคือการออกแบบแสงสว่างให้มีความส่องสว่างเพียงพอตามมาตรฐานเพื่อการใช้งานในแต่ละพื้นที่ มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ

1. การให้แสงสว่างทั่วพื้นที่ (General Lighting)

การให้แสงสว่างทั่วพื้นที่คือแสงสว่างที่มาจากโคมไฟที่ติดตั้งอย่างกระจัดกระจายบนเพดานอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นวิธีการให้แสงสว่างที่ได้รับความนิยมและพบเห็นได้ทั่วไป ข้อดีคือสามารถออกแบบได้ง่ายเพราะไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเรื่องตำแหน่งทำงาน แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองพลังงานสูง การให้แสงสว่างด้วยวิธีนี้มักพบเห็นได้ในการออกแบบแสงสว่างสำหรับทางเดิน ห้องทำงานหรือห้องเรียนที่มีโต๊ะวางอยู่ทั่วห้อง

2. การให้แสงสว่างเฉพาะที่ (Local Lighting)

การให้แสงสว่างเฉพาะที่คือการออกแบบโดยการให้แสงสว่างเสริมให้พื้นที่นั้นๆ สว่างเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเน้นให้แสงสว่างเฉพาะตำแหน่งและทิศทางที่ต้องการ เช่น โคมไฟเหนือโต๊ะทำงาน ซึ่งการออกแบบประเภทนี้จะช่วยประหยัดพลังงานได้มากเพราะเป็นการควบคุมความสว่างเฉพาะที่

3. การให้แสงสว่างทั่วพื้นที่และเฉพาะที่ (General and Local Lighting) 

การให้แสงสว่างทั่วพื้นที่และเฉพาะที่คือวิธีการผสมผสานการออกแบบให้สอดคล้องกับการทำงานในแต่ละพื้นที่ โดยเป็นการผสมผสานระหว่างแสงสว่างทั่วพื้นที่และแสงสว่างเฉพาะตำแหน่ง จึงประหยัดพลังงานกว่าการให้แสงสว่างทั่วพื้นที่ เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่สำนักงาน โรงแรม เป็นต้น

ระบบการให้แสงสว่างรอง (Secondary Lighting System)

ระบบการให้แสงสว่างรองคือการออกแบบแสงสว่างเพื่อความสวยงาม ความสบายตา หรือเพื่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกสำหรับพื้นที่นั้น ซึ่งประกอบไปด้วย

1. แสงสว่างแบบส่องเน้น (Accent Lighting) 

แสงสว่างแบบส่องเน้นคือแสงสว่างที่ใช้เพื่อให้วัตถุสิ่งของหรือพื้นที่หนึ่งโดดเด่นขึ้นมา ช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้ที่พบเห็น เช่น การให้แสงสว่างไปที่ผลงานการออกแบบชิ้นหนึ่งเพื่อให้ผลงานนั้นมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยเราสามารถใช้โคมไฟ Track Light หรือ Spot Light สำหรับแสงสว่างประเภทนี้ได้เพราะเป็นโคมไฟที่ให้แสงที่พุ่งตรง เน้นความสว่างเฉพาะจุด และช่วยเน้นวัตถุให้มีความโดดเด่นขึ้นกว่าจุดอื่น ๆ

2. แสงสว่างแบบเอฟเฟค (Effect Lighting)

แสงสว่างแบบเอฟเฟคสร้างขึ้นเพื่อสร้างอารมณ์หรือบรรยากาศภายในห้อง เช่น แสงเอฟเฟคที่ใช้ในงานเฉลิมฉลองหรือการเล่นแสงสีในร้านค้าหรือคลับ รวมถึงแสงภายนอกอาคาร แสงว่างแบบเอฟเฟคทั่วไปตามที่เห็นจะเป็นแสงไฟประเภท Facade ซึ่งจะช่วยเพิ่มสีสันและเน้นอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของตัวอาคารนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี

3. แสงสว่างตกแต่ง (Decorative Lighting) 

แสงสว่างตกแต่งคือแสงสว่างที่ใช้สำหรับการตกแต่งห้อง ช่วยเสริมความงดงามน่าอยู่ภายในห้อง โดยมักมาพร้อมกับโคมไฟหรูหราหรือชิ้นงานทันสมัย ทำหน้าที่สร้างจุดสนใจภายในห้อง โดยอาจจะมีการผสมผสานแสงสว่างแบบตกแต่งควบคู่ไปกับเทคนิค Indirect Light ในการออกแบบด้วย

4. แสงสว่างงานสถาปัตย์ (Architectural Lighting)

แสงสว่างงานสถาปัตย์วางแผนและติดตั้งเพื่อเน้นให้แสงสว่างไปที่การออกแบบและโครงสร้างของอาคาร จุดประสงค์ของแสงสว่างงานสถาปัตย์คือการสร้างลักษณะเด่นของอาคารและสร้างความสว่างที่เหมาะสมในพื้นที่ เช่น การให้แสงไฟจากหลืบ การให้แสงจากบังตา หรือการให้แสงจากที่ซ่อนหลอด

5. แสงสว่างตามอารมณ์ (Mood Lighting)

แสงสว่างตามอารมณ์ออกแบบมาเพื่อสร้างบรรยากาศหรืออารมณ์ภายในห้องตามที่เราต้องการ เช่น การใช้แสงสีอ่อนในห้องพักเพื่อสร้างความสงบสุขและผ่อนคลาย อีกหนึ่งเคล็ดลับคือการเลือกใช้ Dimmer Switch ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปรับลดระดับความสว่างของหลอดไฟให้เป็นไปตามต้องการ Dimmer Switch จะช่วยสร้างบรรยากาศของแสงให้ได้ระดับความส่องสว่างตามการใช้งานในแต่ละห้องดังที่คุณปราถนาได้

มาตรฐานของระบบแสงสว่าง

สิ่งที่ขาดไม่ได้ของการออกแบบแสงสว่าง คือ จะต้องออกแบบให้มีระดับความส่องสว่างสอดคล้องกับมาตรฐานและไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด สำหรับประเทศไทย มาตรฐานกำหนดค่าความส่องสว่างขั้นต่ำที่ได้รับการยอมรับในทางวิศวกรรมสำหรับพื้นที่ใช้งานแต่ละประเภท คือ “มาตรฐานจากสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย” หรือ TIEA ซึ่งมาตรฐาน TIEA นี้ได้อ้างอิงตามมาตรฐานสากลของ CIE (Commission International del’ Eclairage)

 

วิธีการคํานวณแสงสว่าง

การออกแบบระบบแสงสว่างต้องคำนึงถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงความสว่างที่เหมาะสมในพื้นที่ที่จะใช้งาน เพื่อสร้างระบบแสงสว่างที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งานพร้อมไปกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ โดยวิธีการคํานวณแสงสว่างในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีหลักๆ ดังนี้ 

วิธีการคำนวณแบบลูเมนท์ (Lumen Method)

วิธีการคำนวณแบบลูเมนท์ คือ การคำนวณค่าปริมาณความส่องสว่างทั้งหมดของห้องตามมาตรฐาน IES (Illumination Engineering Society) เพื่อหาปริมาณจำนวนดวงโคมที่ต้องติดตั้งภายในห้องนั้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีย่อยๆ ได้ดังนี้

1. Zonel Cavity Method 

Zonel Cavity Method คือการคำนวณค่าฟลักซ์ส่องสว่างรวมของห้องจากหลายตัวแปร นั่นก็คือ ค่าปริมาณความส่องสว่างตามมาตรฐานซึ่งมีหน่วยเป็นลักซ์ (LUX) พื้นที่ห้อง ค่าสัมประสิทธิ์การใช้ประโยชน์ ค่าความเสื่อมของหลอดไฟ และค่าความเสื่อมจากความสกปรกของดวงโคม เพื่อนำมาคำนวณหาปริมาณหลอดไฟหรือโคมไฟสำหรับห้องที่ต้องการจะออกแบบ

2. Room Index Method

Room Index Method เป็นวิธีการคำนวณที่คล้ายกับวิธีแรก ซึ่งต่างกันตรงที่วิธีนี้จะเปลี่ยนตัวแปรจากค่าความเสื่อมมาเป็นค่าการบำรุงรักษา โดยผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นค่าฟลักซ์ส่องสว่างที่จะนำไปใช้คำนวณหาปริมาณหลอดไฟและโคมไฟที่ต้องใช้เช่นเดียวกัน

วิธีคำนวณแบบจุดต่อจุด (Point By Point Method)

วิธีคำนวณแบบจุดต่อจุด คือ การคำนวณหาความส่องสว่างทีละจุดๆ ตามที่ต้องการ ซึ่งจะเน้นไปที่พื้นที่นั้นๆ โดยเฉพาะ ซึ่งตัวแปรสำคัญสำหรับการคำนวณด้วยวิธีนี้คือ กราฟกระจายแสงของโคม เนื่องจากเป็นการคำนวณบนพื้นที่เล็กๆ แบบจุดใดจุดหนึ่งบนพื้นงาน ซึ่งกราฟกระจายแสงของโคมจะแสดงค่าความเข้มของแสงที่กระจายไปในแต่ละทิศแต่ละทางของหลอดหรือดวงโคมนั้นๆ นั่นเอง

เมื่อได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบระบบแสงสว่างจนถึงย่อหน้านี้ จะเห็นได้ว่า การออกแบบแสงสว่างค่อนข้างมีความซับซ้อนและอาศัยความเชี่ยวชาญในระดับหนึ่ง เนื่องจากการออกแบบแสงสว่างไม่ได้คำนึงถึงเพียงในแง่ประสิทธิภาพและความสอดคล้องตามมาตรฐานเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงการออกแบบ การเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงหรือหลอดไฟที่ประหยัดพลังงาน แสงสว่างที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการบำรุงรักษา การออกแบบแสงสว่างด้วยตนเองจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น การเลือกทีมออกแบบแสงสว่างมืออาชีพ มีความรู้และประสบการณ์ จึงถือเป็นทางออกที่จะช่วยให้เราสามารถเบาใจให้กับเรื่องนี้ไปได้อย่างแน่นอน

Lumencraft Lighting คือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบแสงสว่างในประเทศไทยที่มาพร้อมผลิตภัณฑ์ด้านแสงสว่างอันหลากหลายและมีเอกลักษณ์ พร้อมด้วยประสบการณ์ที่มีมาอย่างยาวนาน เรายังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยเนรมิตให้แสงสว่างภายในพื้นที่ของคุณมีความเหมาะสม สวยงาม โดดเด่นไม่เหมือนใคร ติดต่อเราวันนี้เพื่อให้เราช่วยดูแลและเลือกแสงสว่างที่ตอบโจทย์การใช้งานและความต้องการของคุณมากที่สุด 

เปิดโลกโคมไฟ ชวนมารู้จักโคมไฟตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคุณ

เปิดโลกโคมไฟ ชวนมารู้จักโคมไฟตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคุณ

ในยุคสมัยที่การออกแบบนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมาย โคมไฟจึงไม่ใช่แค่อุปกรณ์ส่องสว่างเพียงอย่างเดียวแล้ว เพราะในปัจจุบัน โคมไฟยังถือเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งบ้านหรือสถานที่ต่างๆ อาทิ คอนโดมิเนียม สำนักงาน โรงแรม ฯลฯ ทั้งยังสามารถนำไปใช้ได้หลากหลายโอกาส ตอบสนองต่อความต้องการและไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของผู้ใช้ วันนี้เราจึงอยากพาคุณเดินทางไปเปิดโลกสารพัดโคมไฟ โดยการทำความรู้จักกับประเภทของโคมไฟ เรียนรู้ถึงประโยชน์ของโคมไฟแต่ละประเภท พร้อมทั้งวิธีการเลือกโคมไฟเพื่อที่คุณจะได้นำโคมไฟไปใช้ได้อย่างถูกต้องและประดับตกแต่งได้สวยงามยิ่งขึ้น ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย

โคมไฟ คืออะไร?

โคมไฟ คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่องสว่างได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบของโคมไฟจะประกอบด้วยตัวโคมที่ใช้ปกป้องหลอดไฟหรือแหล่งกำเนิดแสง และโครงฐานที่ใช้รองรับหรือติดตั้งโคมไฟ ทุกวันนี้โคมไฟมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งบ้าน เพราะส่วนใหญ่ โคมไฟสมัยใหม่จะได้รับการออกแบบมาอย่างสวยงาม มีเอกลักษณ์ ผ่านการรังสรรค์แต่ละชิ้นส่วนอย่างพิถีพิถันเพื่อให้เข้ากับสถานที่มากขึ้น โคมไฟจึงถือเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างบรรยากาศ เสริมสร้างสไตล์แต่ละพื้นที่ให้โดดเด่นเป็นที่จดจำ ตลอดจดยกระดับสถานที่ให้มีความหรูหรามากขึ้น

ประเภทของโคมไฟ

โคมไฟผ่านการออกแบบมาโดยคำนึงถึงการใช้งานและความสวยงาม ด้วยการผสมผสานระหว่างการออกแบบ สี รูปทรง และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้โคมไฟแต่ละชิ้นสามารถตอบโจทย์ได้สารพัดการใช้งาน เราขอแนะนำแต่ละประเภทของโคมไฟดังต่อไปนี้

โคมไฟเพดาน

โคมไฟเพดานจะติดตั้งอยู่บนเพดานของห้อง มีหลายรูปทรงให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นสี่เหลี่ยม วงกลม รูปทรงอิงตามธรรมชาติ เช่น มีลักษณะคล้ายดอกไม้ ดอกบัว ผีเสื้อ หรือเป็นโคมไฟที่ห้อยลงมาในหลากหลายสไตล์ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้สถานที่นั้นๆ น่าอยู่ยิ่งขึ้น โคมไฟเพดานสามารถกระจายแสงได้ทั่วทุกมุมห้อง เหมาะสำหรับห้องนั่งเล่น ห้องนอน หรือห้องทำงาน

โคมไฟทำงาน

โคมไฟทำงานมีลักษณะเป็นโคมไฟตั้งโต๊ะ ตั้งพื้น ยึดติดกับโต๊ะหรือผนัง มีหลากหลายรูปทรงให้เลือกเช่นกัน ส่วนใหญ่สามารถปรับระดับความสูงต่ำได้ บางตัวสามารถหมุนได้ 360 องศา บางตัวสามารถปรับระดับแสงสว่างและพับเก็บได้อีกด้วย โคมไฟทำงานมีทั้งแบบเสียบปลั๊กและแบบใช้แบตเตอรี่ โดยออกแบบมาให้แสงส่องเน้นไปยังพื้นที่ทำงาน เช่น โต๊ะทำงาน โต๊ะอ่านหนังสือ เหมาะสำหรับห้องทำงานหรือห้องนอน โดยค่าแสงไฟที่เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือนั้น เราควรเลือกใช้หลอดไฟสี Cool White ที่มีค่าแสงอยู่ที่ 4000K เพื่อช่วยถนอมสายตาและอ่านหนังสือได้นานยิ่งขึ้น

โคมไฟดาวน์ไลท์

โคมไฟดาวน์ไลท์จะติดตั้งซ่อนอยู่ใต้ฝ้าเพดาน โดยหลักแล้วมีอยู่ด้วยกันสี่รูปแบบ ได้แก่ ไฟดาวน์ไลท์แบบฝังใต้ฝ้า ไฟดาวน์ไลท์ติดลอย โคมไฟดาวน์ไลท์แบบแขวน และโคมไฟดาวน์ไลท์แบบฝังกึ่งลอย แต่ละรูปแบบมีความโดดเด่นในสไตล์ที่ต่างกันขึ้นอยู่กับว่าคุณชอบสไตล์แบบไหน โคมไฟดาวน์ไลท์จะให้แสงที่มีความอ่อนโยน นุ่มนวล มอบความรู้สึกอบอุ่นสบายตา เหมาะสำหรับใช้ในห้องครัว ห้องน้ำ หรือห้องรับแขก ยกตัวอย่าง โคมไฟดาวน์ไลท์รุ่น AVA MONICA FLIN จาก Lumencraft ผู้เชี่ยวชาญด้านโคมไฟและแสงสว่างในประเทศไทย โคมไฟดาวน์ไลท์รุ่น AVA MONICA FLIN เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในห้องที่จำเป็นต้องใช้พลังไฟสูงแต่ค่าแสงไม่เบี่ยงเบนมาก เพราะมีขนาดกระทัดรัดและค่อนข้างกลมกลืนไปกับฝ้าเพดานอย่างลงตัว ทำให้ฝ้าดูเรียบสวยไม่เป็นช่องหลุมเหมือนโคมดาวน์ไลท์ทั่วไป หากเป็นโคมประเภท COB อายุการใช้งานจะนานกว่าหลอดประเภท Retrofit หลายเท่าและยังได้ความสว่างที่มากกว่า หลอด LED Retrofit ทั่วไปอายุการใช้งานจะอยู่ที่ 2-4 ปี แต่สำหรับโคมประเภท COB เราสามารถใช้งานได้นานกว่า 10 ปีเลยทีเดียว

โคมไฟระเบียงหน้าบ้าน

โคมไฟระเบียงหน้าบ้านคือโคมไฟที่ติดตั้งบริเวณหน้าบ้าน โดยมักติดกับผนังและเน้นให้ความสว่างในพื้นที่ด้านนอก เช่น ระเบียง สวน หรือบริเวณทางเดิน ช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้อยู่อาศัยรวมถึงแขกที่มาเยี่ยมบ้านในเวลากลางคืน ที่สำคัญ ดีไซน์และแสงที่ส่องออกมาจากโคมไฟระเบียงหน้าบ้านจะช่วยมอบความรู้สึกแห่งการยินดีต้อนรับให้กับบ้านหลังนั้น ทั้งยังเป็นเสมือนประตูที่นำพาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่เจ้าของบ้านอีกด้วย มากกว่านั้น เพราะเราจำเป็นต้องเปิดโคมไฟระเบียงหน้าบานตลอดทั้งคืน Lumencraft จึงขอแนะนำให้ใช้โคมประเภท Wall Light (IP54) สำหรับระเบียงที่มีชายคา หากเป็นภายนอกที่โดนน้ำฝน ควรเลือกโคมไฟที่มี IP65 ขึ้นไป และสำหรับไฟสนามหรือไฟภายนอก การเลือกค่าของแสงอยู่ที่ 2700K จะให้อารมณ์ความรู้สึกที่ดีกว่า ช่วยให้บ้านน่าอยู่และประหยัดไฟได้มากกว่าเดิม

โคมไฟ LED

โคมไฟ LED เป็นโคมไฟที่ใช้แหล่งกำเนิดแสงจากหลอดไฟ LED ซึ่งประหยัดพลังงานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน องค์กร บริษัท ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรม มักใช้หลอดไฟ LED เพราะความมีประสิทธิภาพและศักยภาพในการประหยัดพลังงานของหลอดไฟ LED โคมไฟ LED สามารถนำไปใช้ได้กับทุกประเภทของโคมไฟ อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

ประโยชน์ของโคมไฟ

นอกจากการให้แสงสว่างแล้ว โคมไฟยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย อาทิ

เพิ่มความปลอดภัย

โคมไฟช่วยให้เรามองเห็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย มองเห็นสิ่งที่อยู่บนถนนและสิ่งกีดขวางต่างๆ ในที่มืดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง โคมไฟ Street Light ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเวลาค่ำมืด

ส่งเสริมบรรยากาศ

โคมไฟเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการเสริมสร้างบรรยากาศโดยรอบให้สวยงามและน่าอยู่ โดยเฉพาะในสถานที่สำหรับพักผ่อน เช่น โรงแรม รีสอร์ท การเลือกโคมไฟที่เหมาะสมและไม่เหมือนใคร จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาพักอาศัยได้ดีเลยทีเดียว 

ประหยัดพลังงาน

สำหรับโคมไฟที่ช่วยประหยัดพลังงาน ต้องยกให้โคมไฟ LED เพราะใช้พลังงานน้อย ให้ความสว่างสูง ไม่ปล่อยรังสี UV ถือเป็นโคมไฟที่สามารถลดค่าไฟและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นอย่างดี

ช่วยในการทำงาน

ยามค่ำคืนที่เราไม่ต้องการเปิดไฟจนทั่วห้อง เราสามารถเลือกเปิดเฉพาะโคมไฟทำงานหรือโคมไฟตั้งโต๊ะได้ เช่น โคมไฟอ่านหนังสือ โคมไฟประเภทนี้มักมีการออกแบบให้มีความสว่างในระดับที่เหมาะสมสำหรับการทำงานหรือการอ่านหนังสือ จึงช่วยถนอมสายตา เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยให้ทำงานได้นานขึ้น ทั้งยังประหยัดไฟอีกด้วย

วิธีการเลือกโคมไฟให้ตอบโจทย์

ปัจจุบัน โคมไฟมีมากมายหลายรูปแบบให้เลือกซื้อ ทำให้หลายคนเกิดความลังเลสับสนว่าจะเลือกโคมไฟแบบไหนดี เราขอแนะนำเคล็ดลับในการเลือกโคมไฟให้ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ แล้วการเลือกโคมไฟจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

พิจารณาจากความต้องการ

ก่อนอื่นต้องพิจารณาความต้องการของตนเองให้แน่ชัดก่อนว่า คุณต้องการโคมไฟที่ใช้สำหรับอะไร เช่น หากเน้นความสว่างภายในอาคารพาณิชย์ ก็อาจจะเลือกโคมไฟออฟฟิศหรือโคมไฟที่ใช้ในสำนักงาน เป็นต้น วิธี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกโคมไฟได้ง่ายยิ่งขึ้น

พิจารณาจากสไตล์และการตกแต่ง

หลังจากได้ทำความเข้าใจเหตุผลในการเลือกโคมไฟของตนเองแล้ว มาพิจารณาสไตล์และการตกแต่งกันต่อ โดยคุณจะต้องเลือกสไตล์และการตกแต่งที่เข้ากับสถานที่ที่จะไปติดตั้งโคมไฟ เช่น หากคุณจะติดตั้งโคมไฟเพดานในบ้าน คุณต้องคำนึงถึงสไตล์การตกแต่งบ้านโดยรวมของคุณทั้งหมด และดูว่าเป็นสไตล์แบบไหน เช่น โมเดิร์น มินิมอล คลาสสิก หรือลักซูรี คุณจะได้เลือกโคมไฟในสไตล์ที่เข้ากับตัวบ้านได้มากที่สุด

ขนาดและความสูงของโคมไฟ

ขนาดของโคมไฟมีผลต่อการกระจายแสงและบรรยากาศของพื้นที่โดยรอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ คุณจึงต้องประเมินขนาดและความสูงของสถานที่ที่คุณจะไปติดตั้งโคมไฟให้รอบคอบเพื่อที่จะได้เลือกโคมไฟที่พอดีกับสถานที่นั้นๆ เช่น โคมไฟเพดาน ควรเลือกโคมไฟที่เหมาะสมกับความสูงของเพดาน ไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไป และส่องแสงสว่างได้ทั่วทุกมุมห้อง หรือโคมไฟทำงาน ก็ควรอยู่ในระดับสายตาเพื่อลดอาการเมื่อยล้าของสายตา 

แสงจากโคมไฟ

แสงจากโคมไฟเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะแสงแต่ละสีจะให้ความรู้สึกแตกต่างกันชัดเจน เช่น แสงไฟสีโทนอุ่นอย่างวอร์มไวท์ จะให้ความรู้สึกอบอุ่นโรแมนติกเหมาะสำหรับใช้ในห้องนอน แสงสีขาวธรรมชาติอย่างเดย์ไลท์ก็จะให้ความรู้สึกกระตือรือร้นเหมาะสำหรับใช้ในสำนักงาน เป็นต้น การศึกษาเรื่องแสงจากโคมไฟมาก่อนก็จะช่วยให้คุณเลือกโคมไฟที่เอื้ออำนวยและเป็นผลดีต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้มากขึ้น

การรับประกัน

การซื้อโคมไฟจากร้านขายโคมไฟไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ควรตรวจสอบเงื่อนไขการรับประกันสินค้าอย่างรอบคอบ และตรวจสอบให้มั่นใจว่าการบริการหลังการขายมีคุณภาพ เพื่อให้คุณได้รับสินค้าที่ดีที่สุดและคุ้มค่ามากที่สุด 

Lumencraft Ligiting มีหลากหลายสินค้าให้เลือกพร้อมการรับประกันสินค้าที่วางใจได้ โดยการรับประกันสินค้าของ Lumencraft ในแต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน อาทิ (1) ประเภทหลอด Bulb E27 รับประกัน 1 ปี (2) ประเภทหลอด Gu10 รับประกัน 2 ปี (3) ประเภทโคม COB ทั่วไป, Striplight, Power supply รับประกัน 3 ปี โดยหากต้องการเคลมสินค้า ลูกค้าต้องเก็บใบเสร็จรับเงินไว้ หากใบเสร็จรับเงินหาย จะไม่สามารถเคลมสินค้าได้ในทุกกรณี ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัย ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามทาง Lumencraft ได้ทุกเมื่อ เพราะ Lumencraft พร้อมที่จะตอบคำถามและคลายข้อสงสัยให้ลูกค้าในทันที

ดูแลโคมไฟอย่างไรให้ใช้ได้นาน

หากเราซื้อโคมไฟมาแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือการบำรุงรักษาโคมไฟ ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า จะมีวิธีดูแลรักษาโคมไฟอย่างไรให้ใช้ได้นาน เราจะมาเผยวิธีให้คุณได้ทราบดังนี้

  • เลือกหลอดไฟที่มีขนาดหรือแรงดันที่ตรงกับโคมไฟ และหลีกเลี่ยงการใช้หลอดไฟที่มีความร้อนสูงเกินไป เพื่อถนอมหลอดไฟให้ใช้งานได้นานขึ้น
  • ตรวจสอบสภาพโคมไฟอย่างสม่ำเสมอ และควรติดตั้งโคมไฟในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อการชนหรือร่วง
  • ควรใช้งานโคมไฟอย่างระมัดระวัง ไม่ควรเปิด-ปิดสวิตช์ไฟอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้ระบบภายในเสียหายได้
  • ก่อนทำความสะอาด ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ปิดสวิตช์โคมไฟแล้วทุกครั้ง ไม่เช่นนั้นอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เข้มข้นเกินไป เพียงใช้น้ำยาล้างจานผสมกับน้ำสะอาด และใช้ผ้านุ่ม ๆ ที่ไม่มีเส้นใยมาทำความสะอาดโคมไฟเพื่อป้องกันรอยขีดข่วนและคราบขุ่นมัว แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

เพราะโคมไฟคือองค์ประกอบที่ให้ทั้งแสงสว่าง เติมแต่งความงดงาม และสร้างสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ให้กับสถานที่นั้นๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ในปัจจุบันโคมไฟจะมีตัวเลือกให้เลือกสรรได้สารพัด Lumencraft Ligiting จึงได้คัดสรรเฉพาะโคมไฟที่ผลิตโดยวัสดุคุณภาพและได้มาตรฐาน ทั้งยังผ่านการออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน ให้คุณได้เลือกโคมไฟที่ตอบโจทย์การใช้งานและเข้ากับสไตล์การตกแต่งสถานที่ของคุณได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ Lumencraft ยังได้จัดโชว์รูมโคมไฟให้คุณได้เยี่ยมชมและเลือกซื้อโคมไฟได้ทันที ติดต่อเราวันนี้เพื่อให้เราช่วยเลือกโคมไฟที่ตรงใจคุณมากที่สุด   

ชีวิตดีขึ้นได้ด้วย 4 วิธีจัดไฟในห้องนอนตามหลักฮวงจุ้ย

ชีวิตดีขึ้นได้ด้วย 4 วิธีจัดไฟในห้องนอนตามหลักฮวงจุ้ย

ห้องนอน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ให้เราได้ใช้เวลายามกลางวันและยามค่ำคืนไปกับการผ่อนคลายอารมณ์และพักผ่อนร่างกายจากความเหนื่อยล้าสะสมตลอดทั้งวัน เราจึงควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ในห้องนอนเป็นพิเศษ โดยเฉพาะแสงไฟ แสงสว่างจากไฟในห้องนอนสำคัญต่อบรรยากาศภายในห้องและสุขภาพมากกว่าที่เราคิด จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ที่สำคัญ การบูรณาการหลักฮวงจุ้ยเข้ากับตำแหน่งไฟในห้องนอนจะยิ่งช่วยผลักดันให้ชีวิตรุ่งเรืองและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะหลักฮวงจุ้ยถือว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อการไหลเวียนของพลังงานบวกไปทั่วทุกมุมห้อง ส่งผลดีต่อชีวิตในด้านต่างๆ รวมถึงอาชีพการงาน ความสัมพันธ์ และความเป็นอยู่โดยรวม บทความนี้จะขอแนะนำเคล็ดลับ 4 วิธีในการจัดแสงภายในห้องนอนให้น่านอนกว่าเดิมแถมถูกหลังฮวงจุ้ย เพื่อให้การใช้เวลาในห้องนอนมอบความสุขกายสบายใจให้เราได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รู้จักแสงจากหลอดไฟก่อนการติดตั้ง

ก่อนอื่น เราขอชวนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักฮวงจุ้ยเล็กน้อย หลักฮวงจุ้ย คือการสร้างสภาวะแวดล้อมของการอยู่อาศัยให้ถูกต้องตามหลักธรรมชาติจากคติของชาวจีน ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องการไหลเวียนของพลังงานจากลม (ฮวง) และน้ำ (จุ้ย) แก่นหลักของฮวงจุ้ยคือการเลือกสรรและจัดวางสิ่งของภายในบ้านอย่างเหมาะสมเพื่อให้พลังงานที่ดีไหลเข้าสู่สถานที่สำคัญอย่าง “บ้าน” ซึ่งเชื่อกันว่าจะเกื้อหนุนให้ผู้อยู่อาศัยได้รับพลังงานดีๆ ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น

ในการที่จะติดตั้งไฟ เราควรทำความเข้าใจคุณลักษณะของแสงจากหลอดไฟประเภทต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจถึงวิธีการเลือกใช้แสงทั้งในห้องนอนและห้องอื่นๆ พร้อมตัดสินใจเลือกไฟได้อย่างชาญฉลาดเป็นไปตามหลักฮวงจุ้ยและตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของเราได้อย่างครบถ้วนที่สุด โดยแสงจากหลอดไฟในที่นี้จะแบ่งประเภทไปตามอุณหภูมิของสี ซึ่งมี 3 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

– หลอดไฟวอร์มไวท์ (Warm White)

หลอดไฟวอร์มไวท์มีตั้งแต่สีเหลืองเข้มไปจนถึงสีส้ม สีโทนอุ่นของหลอดไฟช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายสบายตา สร้างความอบอุ่นโรแมนติก เหมาะแก่การประดับตกแต่ง ทั้งยังเป็นสีที่ส่งเสริมโชคลาภตามหลักฮวงจุ้ย ร้านอาหารมักแต่งแต้มด้วยหลอดไฟวอร์มไวท์เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและสร้างบรรยากาศแห่งการยินดีต้อนรับ หลอดไฟวอร์มไวท์ยังคู่ควรกับการใช้งานภายในห้องนอนและห้องนั่งเล่นเป็นอย่างยิ่ง 

– หลอดไฟเดย์ไลท์ (Daylight)

หลอดไฟเดย์ไลท์จะเปล่งแสงสีขาวแบบธรรมชาติออกฟ้าเล็กน้อยซึ่งใกล้เคียงกับโทนแสงในช่วงกลางวัน ไฟเดย์ไลท์เป็นที่รู้จักในด้านความสว่างแจ่มชัด ให้ความรู้สึกสดชื่น ตื่นตัว จึงมักพบเจอไฟสีนี้ในสำนักงานและห้องเรียน เพราะช่วยเพิ่มความกระตือรือร้นในการเรียนและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังส่งเสริมในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดีตามหลักฮวงจุ้ย หลอดไฟเดย์ไลท์ยังเหมาะกับการใช้งานภายในห้องทำงานและห้องน้ำเพื่อสร้างบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา เอื้อต่อการทำงานและการดูแลตัวเอง

– หลอดไฟคูลไวท์ (Cool White)

หลอดไฟคูลไวท์ให้แสงสีขาวออกเหลืองเล็กน้อย เป็นโทนแสงที่ผสมผสานระหว่างหลอดไฟวอร์มไวท์แห่งความอบอุ่นกับหลอดไฟเดย์ไลท์แห่งความสดใสได้อย่างกลมกลืน ให้ความหมายถึงความรุ่งเรืองและความสงบสุข โทนสีอ่อนนี้ให้บรรยากาศที่นุ่มนวลสบายตาซึ่งพบเห็นได้บ่อยในห้างสรรพสินค้า การเสริมแต่งสีสันภายในห้องนอนและห้องครัวด้วยหลอดไฟคูลไวท์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดียิ่ง 

ในบรรดาตัวเลือกต่างๆ หลอดไฟวอร์มไวท์คือหลอดไฟที่เหมาะสำหรับใช้ในห้องนอนมากที่สุด เพราะหลอดไฟวอร์มไวท์ปล่อยแสงสีฟ้าออกมาน้อยที่สุด ในทางวิทยาศาสตร์พบว่าแสงสีฟ้าจะยับยั้งการผลิตฮอร์โมนที่มีชื่อว่า เมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย หลอดไฟวอร์มไวท์ยังให้บรรยากาศอบอุ่น ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกสงบ จึงพักผ่อนได้อย่างสบายใจ ตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว พลังงานที่แผ่ออกมาจากหลอดไฟวอร์มไลท์จะช่วยดึงดูดความเจริญรุ่งเรืองและความอุดมสมบูรณ์มาสู่ชีวิต โดยระดับความสว่างที่แนะนำสำหรับหลอดไฟวอร์มไวท์คือ 150 – 300 Lux และความสว่างทั่วไปภายในห้องนอนไม่ควรเกินกว่า 150 Lux ข้อดีที่ไม่เหมือนใครของหลอดไฟวอร์มไวท์จะช่วยให้การพักผ่อนและความเป็นอยู่ของเราราบรื่นยิ่งขึ้น

เลือกตำแหน่งในการติดตั้งไฟภายในห้องนอน

โดยปกติแล้ว ไฟที่ติดตั้งภายในห้องมักจะใช้เป็นไฟดาวน์ไลท์หรือไฟที่ติดตั้งอยู่บนฝ้าเพดาน เรามักจะเห็นตำแหน่งของไฟดาวน์ไลท์ประดับอยู่บริเวณเพดานกลางห้องสาดส่องลงมายังเตียงนอนของเรา แต่ในความเป็นจริง การติดตั้งไฟในลักษณะนี้อาจส่งกระทบในแง่ลบต่อสายตาของเราได้ เพราะจุดประสงค์หลักของไฟในห้องนอนคือการสร้างบรรยากาศถนอมสายตาและเอื้อต่อการพักผ่อน ในศาสตร์ฮวงจุ้ย การติดตั้งไฟที่ถูกต้องคือการหลีกเลี่ยงไม่ให้ไฟส่งผลกระทบต่อการพักผ่อนและการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อรักษาการไหลเวียนของพลังงานให้สมดุลกันภายในพื้นที่ใช้สอยของห้องนอน ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาเลือกตำแหน่งสำหรับติดตั้งไฟในห้องนอนอย่างถี่ถ้วน โดยจะมีเทคนิคอยู่ 5 ข้อหลักๆ ดังนี้

– วางตำแหน่งไฟดาวน์ไลท์หลบมุมสายตา

การวางตำแหน่งไฟดาวน์ไลท์ใกล้กับสายตาเราโดยตรงจะเป็นอันตรายต่อการมองเห็นของเราได้ เราจึงควรวางไฟดาวน์ไลท์หลบมุมสายตาเพื่อไม่ให้แสงกระทบกับสายตามากเกินไป เช่น บริเวณข้างเตียงนอน แสงสว่างที่ส่องเข้ามาจากทางด้านข้างจะช่วยถนอมสายตาได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้การเดินไปเดินมาใกล้กับเตียงนอนภายในห้องปลอดภัยขึ้นอีกด้วย

– วางตำแหน่งไฟดาวน์ไลท์บริเวณหัวเตียง

สำหรับชุมชนคนรักการอ่าน การติดตั้งไฟดาวน์ไลท์หรือไฟสำหรับอ่านหนังสือบริเวณหัวเตียงจะช่วยให้แสงที่ส่องสว่างเข้ามามีความเพียงพอเหมาะสมสำหรับการอ่านหนังสืออยู่บนเตียง เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้แสงสะท้อนเข้าตาเราโดยตรง ช่วยให้ดวงตาเมื่อยล้าน้อยลงและไฟจะไม่แยงตาด้วย ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูร่างกายให้พร้อมตื่นมารับเช้าวันใหม่ตามหลักฮวงจุ้ยนั่นเอง

– ติดตั้งไฟที่ซ่อนอยู่ภายในฝ้าหลุม 

การติดตั้งไฟซ่อนฝ้าหรือไฟที่ซ่อนอยู่ภายในฝ้าหลุมสามารถใช้ได้ทั้งไฟดาวน์ไลท์และไฟ LED โดยแสงที่ส่องเข้ามาจะมีความนุ่มนวล สบายตา การติดตั้งไฟด้วยวิธีนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องสุขภาพดวงตาเท่านั้น แต่ยังช่วยให้มั่นใจได้ว่าแสงจะไม่รบกวนสายตาและไฟจะไม่ทำร้ายดวงตาขณะพักผ่อน ศาสตร์แห่งฮวงจุ้ยเชื่อกันว่าการซ่อนไฟไว้ในฝ้าหลุมเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมพลังงานด้านบวกให้กับผู้อยู่อาศัย ช่วยให้การไหลเวียนของพลังบวกสามารถแทรกซึมไปทุกซอกทุกมุมของห้องนอนได้

– ใช้โคมไฟตั้งโต๊ะ

หากต้องการโคมไฟที่ให้แสงสว่างพร้อมประดับตกแต่งห้องไปด้วยนั้น เราสามารถใช้โคมไฟที่แสงส่องลงมาด้านล่างหรือส่องขึ้นไปบนฝ้าเพดานได้ ซึ่งจะเป็นการผสมผสานประโยชน์และความสวยงามเข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืน สิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงการใช้โคมไฟที่แสงส่องออกไปทางด้านข้างเพราะจะทำให้รู้สึกปวดตาได้ง่าย ในทางฮวงจุ้ยแล้ว การจัดวางโคมไฟไว้ที่หัวเตียงทั้งสองด้านจะช่วยเกื้อหนุนความรักสำหรับชีวิตคู่ให้เหนียวแน่นขึ้นด้วย

– ติดตั้งไฟหลังทีวี

บ่อยครั้งเรามักดูทีวีโดยการปิดไฟเพื่อให้สายตาสามารถจดจ่อไปที่รายการทีวีได้มากขึ้น ทำให้สายตาเสียได้ง่าย ในทางฮวงจุ้ย เราไม่ควรติดตั้งไฟในห้องนอนเพราะอาจรบกวนการนอนหลับ แต่หากเลี่ยงไม่ได้ เราสามารถเพิ่มไฟที่สามารถติดตั้งหลังทีวีหรือใกล้กับทีวีได้ ซึ่งจะทำให้แสงสว่างกระจายตัวไปด้านข้างทีวี ช่วยให้แสงไม่ทำลายสายตาขณะที่เรานั่งหรือนอนดูทีวีภายในห้อง วิธีนี้ไม่เพียงช่วยปรับปรุงการมองเห็นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราสามารถดื่มด่ำกับการรับชมรายการทีวีได้อย่างเพลิดเพลินโดยไม่กระทบสุขภาพดวงตา

เสริมอุปกรณ์ควบคุมไฟในห้องนอน

ตามศาสตร์แห่งฮวงจุ้ย อุปกรณ์ควบคุมไฟสำหรับใช้ในห้องนอนมีความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่สมดุลและสร้างพลังงานบวกให้กับทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะแน่นอนว่าจะช่วยให้เราพักผ่อนได้อย่างสบายใจและใช้ชีวิตได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบัน อุปกรณ์ควบคุมไฟสำหรับใช้ในห้องนอนมีหลากหลายแบบที่ช่วยให้เราสามารถควบคุมแสงไฟในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างสะดวกสบายและตรงใจเรามากขึ้น นอกจากสวิตซ์เปิดปิดธรรมดาที่ใช้สำหรับควบคุมไฟภายในห้องแล้ว ยังมีอุปกรณ์ควบคุมไฟอื่นๆ ที่ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นได้อีก อย่างเช่น

– สวิตซ์หรี่ไฟ (Dimmer Switch)  

เราสามารถใช้สวิตซ์หรี่ไฟควบคุมและปรับระดับความสว่างภายในห้องนอนให้เข้ากับสถานการณ์และอารมณ์ของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ไฟสว่างมาก สว่างน้อย หรือเปิดเป็นแค่ไฟสลัวๆ เกือบมืดก็ทำได้ทั้งนั้น

– อุปกรณ์ควบคุมไฟผ่าน Smart Phone 

การควบคุมไฟผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส เรียกได้ว่าสะดวกสุดๆ เรายังสามารถปรับความสว่างหรือเปิดปิดไฟได้ทุกเมื่อและทุกที่ ไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นไปเปิดปิดไฟหรือเดินไปที่สวิตซ์ไฟเพื่อปรับความสว่างของแสงไฟอีกต่อไป

ติดตั้งไฟภายในห้องนอนตามหลักฮวงจุ้ย

อย่างที่เราพอทราบกันแล้วว่าหลักฮวงจุ้ยเป็นศาสตร์ที่มีความเชื่อกันมานานว่าสามารถเพิ่มความเจริญรุ่งเรืองและความสำเร็จในชีวิตได้ ดังนั้น เราขอแนะนำวิธีการติดตั้งไฟเพิ่มเติมเพื่อน้อมรับความสุขและความสำเร็จเข้ามาสู่ชีวิต

– ควบคุมแสงสว่างภายในห้องนอน

หลักหยินหยาง หรือหลักความสมดุลที่มีรากฐานมาจากภาษาฮวงจุ้ย อธิบายได้ว่าห้องนอนควรให้ความรู้สึกสงบดังพลังงานหยินและความสว่างก็คือตัวแทนของหยาง หลักหยินหยางจึงเป็นการรักษาบรรยากาศของความสงบและความสว่างภายในห้องนอนให้กลมกลืนกันพอดี หากไฟในห้องนอนสว่างเกินไปจะก่อให้เกิดความร้อน ส่งผลให้นอนไม่หลับหรือหลับได้ไม่เต็มอิ่ม เราจึงควรควบคุมแสงสว่างภายภายในห้องนอนในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอตามหลักหยินหยางนั่นเอง

– เลือกสีของไฟภายในห้องนอน 

กุญแจสำคัญของการเลือกสีของแสงที่จะใช้สำหรับห้องนอนคือการเลือกสีที่ให้แสงนุ่มนวล ไม่สว่างจนเกินควร หรือมีสีฉูดฉาดทำลายสายตา เราสามารถใช้สีวอร์มไวท์ที่ช่วยรักษาสายตาหรือจะอาศัยแสงจากธรรมชาติที่มอบพลังงานที่ดีไหลเวียนเข้าสู่ห้องนอนมากที่สุดก็ได้เช่นกัน เพื่อให้เราได้ตื่นมาสัมผัสกับแสงแดดธรรมชาติยามเช้าแสนสดชื่น สำหรับในช่วงเวลากลางคืนนั้น การอาศัยเพียงแสงไฟเบาๆ ที่เพียงพอต่อการจัดการทุกอย่างก่อนนอนก็ทำให้เรานอนหลับพักผ่อนได้ด้วยแสงที่มืดสนิทและดีต่อสุขภาพได้แล้ว

จำนวนไฟในห้องนอน 

ตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว เราควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งไฟภายในห้องนอนเป็นจำนวน 7 และ 9 หรือ 11 ดวง เพราะอาจส่งผลให้ต้องแบกรับภาระหนักอึ้งและโชคไม่ดี ส่งผลกระทบให้การดำเนินชีวิตยากกว่าเดิม

เป้าหมายสำคัญของการจัดไฟในห้องนอนอย่างพิถีพิถันและสอดคล้องตามหลักฮวงจุ้ย คือ การสร้างสมดุลและการสร้างระดับแสงสว่างที่เพียงพอและตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยเพื่อสร้างบรรยากาศสุดแสนผ่อนคลาย สบายตา ให้ร่างกายได้เติมพลังและฟื้นฟูตนเองอย่างเต็มที่ เปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในห้องนอนของคุณให้กลายเป็นสวรรค์อันเงียบสงบและเป็นมงคล พร้อมเกื้อหนุนภาพรวมชีวิตให้เต็มเปี่ยมด้วยความสุข

การติดตั้งไฟในห้องนอนหรือห้องอื่นๆ จะต้องผ่านการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ โดยคุณสามารถแวะชมสินค้าไฟหลากหลายประเภทได้ที่ Lumencraft หรือหากคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดไฟในห้องนอน หรือแม้แต่ในคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า โชว์รูม สำนักงาน ร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ คลินิกเสริมความงาม รีสอร์ท Lumencraft ก็พร้อมให้บริการคุณอย่างเต็มที่

ตีโจทย์ “ไฟดาวน์ไลท์” ทำไม Interior ยุคใหม่เลือกใช้

ตีโจทย์ “ไฟดาวน์ไลท์” ทำไม Interior ยุคใหม่เลือกใช้

‘แสงสว่าง’ และการเลือกใช้ ‘ไฟ’ ถือเป็นเรื่องจำเป็นต่อการตกแต่งในบ้าน เพราะไม่ใช่แค่สร้างเสริมประสบการณ์มองเห็นให้ชัดเจน แต่ยังช่วยแต่งแต้มบรรยากาศภายในบริเวณให้สวยงามมากขึ้นอีกด้วย ในบทความนี้จึงขอมาแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับไฟยอดฮิตแห่งยุค อย่าง “ไฟดาวน์ไลท์” ว่าคืออะไร? ควรติดไฟดาวน์ไลท์ แบบไหนดี?

“ไฟดาวน์ไลท์” คืออะไร?

ไฟดาวน์ไลท์ (downlight) คือ โคมไฟที่ใช้หลักการติดบนฝ้าหรือเพดานส่องลงมาด้านล่างให้แสงสว่างกระจายครอบคลุมบริเวณนั้น (Ambient Lighting) หรือเฉพาะจุด (Accent lighting) เสริมลูกเล่นในการแต่งแสงได้มากกว่าโคมไฟธรรมดาทั่วไป สามารถตกแต่งได้ทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นห้องแบบไหนหรือขนาดเท่าไหร่ก็ตาม ด้วยความที่ขนาดของโคมไฟดาวน์ไลท์มักมีขนาดกะทัดรัด แต่ดีไซน์ความละมุนของแสงและเงา รวมถึงกำหนดค่าความสว่างตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างลงตัว 

เลือกไฟดาวน์ไลท์แบบไหนให้โดนใจตอบโจทย์การใช้งาน

หลังจากทำความเข้าใจแล้วว่า ไฟดาวน์ไลท์ คืออะไร หลายคนก็คงจะพอนึกภาพออก แต่จะบอกว่า ไฟดาวน์ไลท์ไม่ได้มีแบบเดียว ดังนั้น เพื่อให้เลือกใช้งานได้ตรงใจตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้นเลยขอมาแนะนำการเลือกไฟดาวน์ไลท์กัน

1) ศึกษาประเภทของไฟดาวน์ไลท์

สิ่งแรกก่อนตัดสินใจเลือกซื้อไฟดาวน์ไลท์คือ ควรศึกษาประเภทของไฟดาวน์ไลท์ว่า มีประเภทใดบ้าง และเลือกไฟดาวน์ไลท์ แบบไหนดีตอบโจทย์การใช้งานแบบไหน เช่น

– ไฟดาวน์ไลท์ฝังฝ้า

หนึ่งในไฟดาวน์ไลท์ติดฝ้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับตกแต่งห้อง คือ ไฟดาวน์ไลท์ฝังฝ้า โดยไฟดาวน์ไลท์ประเภทนี้จะติดตั้งแบบซ่อนตัวอยู่บนฝ้าเพดานและจะเห็นเฉพาะส่วนบริเวณหน้าโคมขนานราบไปกับเพดานดูกลมกลืนไปกับฝ้า สามารถใช้งานได้หลากหลาย เพียงแค่ต้องระวังการติดตั้งบริเวณฝ้าหรือวัสดุที่สามารถเจาะฝังได้เท่านั้น ไม่เหมาะกับการติดบนเพดานปูนเปลือยเพราะจะเจาะปูนและเดินสายไฟได้ยากมากๆ

– ไฟดาวน์ไลท์แบบติดลอย

ไฟดาวน์ไลท์แบบติดลอยคือไฟดาวน์ไลท์ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กับไฟดาวน์ไลท์ฝังฝ้า ผู้ใช้งานมองเห็นตัวโคมได้อย่างชัดเจนหลังจากติดตั้ง นิยมใช้เป็นไฟหลัก และด้วยผู้ใช้งานต้องเห็นตัวโคมจึงมีรูปทรงและขนาดที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้แก่สถานที่

– ไฟดาวไลท์แบบห้อยเพดาน 

ไฟดาวไลท์แบบห้อยเพดาน เป็นแบบที่ผู้ใช้งานนิยมติดไฟดาวน์ไลท์ โดยดูจากความสวยงามและรูปทรงที่กลมกลืนไปกับสไตล์ของพื้นที่เป็นหลัก ตัวโคมเน้นให้โดดเด่น ติดตั้งแบบมีสายห้อยลงมาจากฝ้าเพดาน นอกจากดีไซน์โคมที่หลากหลายแล้ว รูปแบบของแสงก็หลายหลายเช่นกัน เพื่อใช้ตกแต่งพร้อมกับให้ฟังก์ชั่นส่องสว่างที่ครอบคลุมไปพร้อมๆ กัน

– ไฟดาวไลท์แบบฝังกึ่งลอย

ไฟดาวไลท์แบบฝังกึ่งลอย จะฝังอยู่ในฝ้าเพดานและมีส่วนหน้าโคมยื่นออกมาเล็กน้อย สามารถติดตั้งได้แม้มีเงื่อนไขข้อจำกัดของพื้นที่ใต้ฝ้า เหมาะสำหรับบ้านหรือโครงการที่อยากให้ฝ้าเพดานมีลูกเล่น เน้นส่องสว่างพร้อมตกแต่งไปในตัว

2) อุณหภูมิสี

ไฟดาวน์ไลท์มีตั้งแต่แสงโทนอุ่นไปจนถึงแสงสีขาวนวล แต่ปกติจะแนะนำให้ใช้สีขาวสว่างและเย็นสำหรับห้องทำงาน เช่น ห้องครัวและห้องซักรีด แต่ในพื้นที่ส่วนตัว เช่น ห้องนอนและห้องอ่านหนังสือ ไฟดาวน์ไลท์ที่ให้ความอบอุ่นเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า หากคุณกำลังมองหาอุณหภูมิแสงที่ดีรอบด้าน ไฟ 4000K เป็นตัวเลือกที่ดีในทุกด้าน ให้ลุคที่ดูสะอาดตาแต่ยังคงให้ความอบอุ่นที่ไม่แยงตา

3) ลูเมน

เมื่อเลือกดาวน์ไลท์ตัวเลือก LED จะเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพ (วัตต์) และความสว่าง (ลูเมน) ตัวอย่างเช่น หากคุณมักจะใช้หลอดไส้ขนาด 60 วัตต์ ตอนนี้คุณอาจต้องการเลือกดาวน์ไลท์ LED ที่ใช้กำลังไฟ 8 ถึง 12 วัตต์ และมีระดับลูเมนที่ 800 สำหรับการส่องสว่างในปริมาณที่เท่ากัน

4) องศาการกระจายแสงของไฟดาวน์ไลท์

แล้วไฟดาวน์ไลท์แบบฝัง ส่วนใหญ่จะมีมุมของลำแสง 45° แต่หลอดไฟธรรมดาจะมีมุมลำแสง 360° สำหรับไฟดาวน์ไลท์ เราแนะนำให้เลือกไฟที่มีมุมของลำแสงกว้างกว่าประมาณ 60° ซึ่งช่วยให้ได้แสงที่นุ่มนวลและกระจายแสงสำหรับห้องต่างๆ เช่น ไฟดาวน์ไลท์ ห้องนอน เป็นต้น

5) ดีไซน์หลอดไฟดาวน์ไลท์

นอกจากการใช้งานแล้วดีไซน์หน้าตาของหลอดไฟดาวน์ไลท์ต้องสอดคล้องกับการออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่บริเวณนั้นด้วยเหมือนกัน เพื่อเพิ่มความสวยงาม

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนที่กำลังมองหาไฟส่องลงด้านล่างแบบไฟดาวน์ไลท์หรือกำลังจะรีโนเวท/ตกแต่งพื้นที่ในบ้านหรือในร้านใหม่ให้บรรยากาศสวยละมุนอบอุ่นกว่าที่คิด อย่าพลาดที่จะลองมองหาไฟดาวน์ไลท์มาแต่งแต้มความงามภายในบริเวณนั้น รับรองว่าจะสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับพื้นที่นั้นๆ ได้แน่นอน และอย่าลืมแวะชมสินค้าจาก Lumencraft Lighting เราคือผู้เชี่ยวชาญและจำหน่ายอุปกรณ์หลอดไฟแบบครบวงจร ด้วยประสบการณ์ในการทำงานทั้งโปรเจ็คเล็กหรือใหญ่ หากคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านการดีไซน์ไฟในพื้นที่พาณิชย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า โชว์รูม ออฟฟิศ ร้านอาหาร ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท ฯลฯ ติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย เราพร้อมให้บริการคุณอย่างเต็มที่

Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • Description
  • Attributes
Click outside to hide the compare bar
Compare